วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คุณลักษณะของพระพุทธเจ้า (อีกครั้ง)

พระสรีระของพระพุทธเจ้า ประกอบไปด้วย พระมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ และ อนุพยัญชนะ 80 ประการพระมหาปุริสลักษณะ 32 ประการรวบรวมลักษณะของมหาปุริสลักษณะ 32 ประการที่ผู้ใดมีจะสามารถทำนายคติได้สองอย่างคือ จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ หรือจะได้บรรลุเป็นศาสดาเอกของโลก ลักษณะทั้ง 32 ประการนี้เกิดจากการรักษาศีลและสร้างสมบารมีมาช้านานทั้งสิ้น ๑. พระบาทประดิษฐานเป็นอันดี สุปะติฎฐิตะปาโท เมื่อทรงเหยียบพระบาท ทรงจรดพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน เมื่อทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน๒. ใต้พระบาททั้งสองมีลายธรรมจักร มงคล ๑๐๘ ประการ เหฎฐา ปาทะตะเลสุ จักกานิ๓. ส้นพระบาทยาว อายะตะปัณหิ พระบาทแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ปลายพระบาทสองส่วน ลำพระชงฆ์ (แข้ง) ตั้งในส่วนที่สาม เหลือส้นพระบาทอีกหนึ่งส่วน และส้นพระบาทนั้นสีแดงงาม๔. นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเรียว กลมงาม ทีฆังคุลี๕. พระวรกายตั้งตรงดังกายท้าวมหาพรหม พรหมุชุ คัตโต ไม่น้อมไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง๖. พระมังสะ (เนื้อ) อูมในที่ ๗ แห่ง สัตตุสสะโท ได้แก่ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสา (บ่า) ทั้งสอง ลำพระศอ (คอ) มิได้เห็นเส้นปรากฏออกมาภายนอก๗. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม มุทุตะละนะหัตถะปาโท๘. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทมีลายดังตาข่าย ชาละหัตถะปาโท นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เว้น พระอังคุฎฐะ (นิ้วหัวแม่มือ) นิ้วพระบาททั้งห้าเสมอกัน ชิดสนิทดี(บุพพชาติทรงอนุเคราะห์คนด้วยสังคหวัตถุสี่ คือ ทาน ปิยะวาจา อัตถจริยา สมานัตตา นิ้วทั้งสี่จึงยาวเท่ากัน)๙. หลังพระบาทนูนดุจสังข์คว่ำ อุสสังขะปาโท และข้อพระบาทกลอกกลับผันแปรอย่างคล่องขณะย่างพระบาท๑๐. พระโลมา (ขน) มีสีดำสนิท ขดเป็นทักษิณาวัฎ (เวียนขวา) ๓ รอบและมีปลายช้อนขึ้น๑๑. พระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดังแข้งเนื้อทราย กลมกลึงงาม เอณิชังโฆ๑๒. พระฉวีวรรณ (ผิว) ละเอียด สุขุมมัจฉวี ธุลีละอองมิติดต้องพระวรกายได้ มลทินใดมาสัมผัสก็เลื่อนหลุดไปดุจน้ำกลิ้งตกจากใบบัว๑๓. พระฉวีวรรณ (ผิว) เหลืองงามดังทองคำ สุวัณณะวัณโณ๑๔. พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก โกโสหิตะวัตถะคุโยหะ องค์กำเนิดเพศชายหดเร้นเข้าข้างใน๑๕. พระวรกายสง่างาม สมบูรณ์ สมส่วน ดังปริมณฑลแห่งต้นนิโครธ (ต้นไทร) นิโครธปริมัณฑโล ความสูงของพระวรกายเท่ากับวาของพระองค์๑๖. พระกรยาวจนใช้พระหัตถ์ลูบพระชานู (เข่า) โดยไม่ต้องน้อมพระวรกาย ปาณิตะเลหิ ชันนุกานิ ปริมะสะติ๑๗. พระวรกายส่วนหน้าล่ำพีบริบูรณ์ สง่างามดุจราชสีห์ สีหะปุพพะทะธะกาโย๑๘. พระปฤษฎางค์ (หลัง) เต็ม ปิตตันตะรังโส ตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว) ขึ้นไปถึงต้นพระศอ (คอ) พื้นพระมังสะ (เนื้อ) ปิดพระปฤษฎางค์เป็นอันดี มิได้เห็นข้อพระอัฐิท่ามกลางพระขนอง (ข้อกระดูกสันหลัง) ปรากฏออกมาภายนอก๑๙. พระศอกลมเสมอกัน สะมะวัฎฎักขันโธ๒๐. มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารดีเลิศ ระสัคคะสัคคี มีเส้นประสาทปลายข้างบนประชุมอยู่ที่พระศอสำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านสม่ำเสมอไปทั่วพระวรกาย๒๑. พระเนตรดำสนิท อะภินีละเนตโต มีการเห็นแจ่มใส๒๒. ดวงพระเนตรสดใสดังตาโค โคปะขุโม (บุพพชาติทรงทอดพระเนตรสัตว์ด้วยความเมตตา เอ็นดู)๒๓. พระเศียรกลมงาม พระพักตร์มีอุณหิสคือลักษณะเหมือนมีกรอบหน้า อุณหีสะสีโส๒๔. โลมา (ขน) มีขุมละเส้น เอเกกะโลโม๒๕. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง (คิ้ว) สีขาวอ่อนเหมือนปุยฝ้าย อุณณาโลมา ภมุกันตะเรชาตา๒๖. พระทนต์มี ๔๐ ซี่ จัตตาฬีสะทันโต เบื้องบน ๒๐ ซี่ เบื้องล่าง ๒๐ ซี่เสมอกัน๒๗. พระทนต์มิได้ห่าง สนิทกันดี อะวิระฬะทันโต๒๘. พระชิวหาอ่อน กว้าง ยาวกว่าชนทั้งปวง ปหูตะชิโวห๒๙. พระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม กระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก พรหมัสสะโร กะระวิกะภาณี(บุพพชาติทรงเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ส่อเสียด คำไม่จริง)๓๐. พระหนุ (คาง) ดุจคางราชสีห์ สีหะหะนุ๓๑. พระทนต์เรียงเรียบเสมอกัน สะมะทันโต๓๒. พระทาฐะ (เขี้ยว) ทั้ง ๔ ซี่ขาวบริสุทธิ์ รุ่งเรืองด้วยรัศมี สุสุกกะทาโฐอนุพยัญชนะ 80 ประการนอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการแล้ว ยังมีลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ นิยมเรียกกันว่า "อสีตยานุพยัญชนะ" หรือ "อนุพยัญชนะ" (ลักษณะเพิ่มเติมจำนวนแปดสิบอย่างที่พระโพธิสัตว์ต้องมี) อีก 80 ประการด้วยกัน คือ ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย๓. นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง (พระนขา = เล็บ)๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะมิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแหงกุญชรชาติ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์๑๒. พระดำเนินงามดุจอสุภราชดำเนิน๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้กิริยามารยาทคล้ายสตรี๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง (พระนาภี = สะดือ)๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก (พระอุทร = ท้อง)๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองงามดุจลำสุวรรณกัททลี (พระเพลา = ตัก, ขา สุวรรณกัททลี = ลำต้นกล้วยสีทอง)๒๐. งวงแห่งเอราวัณวัณเทพหัตถี (เอราวัณเทพยหัตถี = ช้าง ๓๓ เศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์)๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คืองามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ (พระอังคาพยพ = องคาพยพ = ส่วนน้อยใหญ่แห่งร่างกาย,อวัยวะน้อยใหญ่)๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนี่ง๒๔. พระสรีกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์สิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ (โกฏิ = สิบล้าน)๒๘. มีพระนาสิกอันสูง (พระนาสิก = จมูก)๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม ๓๐. มีพระโอษฐเบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก (พระโอษฐ = ปาก, ริมฝีปาก)๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์ เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น(พระอินทรีย์ = ร่างกายและจิตใจ)๓๕. พระเขี้ยวทั้ง 4 กลมบริบูรณ์๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานขาวสวย๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน (พระปรางค์ = แก้ม)๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด๔๑. สายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ๔๓.กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน๔๕. ดวงเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้วอมิได้คด๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันแดงเข้ม๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสันฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ (พระกรรณ = หู)๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่อมิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง๕๓. พระเศียรมีสัณฐานอันงาม๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน๕๕. พระนลาฏมีสันฐานอันงาม๕๖. พระโขนงมีสันฐานอันงามดุจกันธนูอันก่งไว้๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วราบไปโดยลำดับ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระวรกาย๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ๖๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย๖๙. ลมอัสสะปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด๗๐. พระโอษฐมีสันฐานอันงามดุจแย้ม๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล (อุบล = ดอกบัว,บัว)๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง (พระเกสา = ผม)๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ๗๕. พระเกสามีสันฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น๗๖. พระเกสาดำสนิททุกเส้น๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆ เส้น๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแหงพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ (พระเกตุมาลา = รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า)แหล่งข้อมูลอ้างอิงพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น